วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แสงสว่างกับสายตา



เราต้องการใช้แสงสว่างเพื่อการมองเห็น เพื่อการศึกษาการอ่านการเขียน การทำกิจกรงาน ประกอบอาชีพ และเพื่อความสะดวกสบายในชีวิตความเป็นอยู่

ทุกวันนี้เราขาดแสงสว่างธรรมชาติที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ซึ่งเคยได้รับกันมาแต่ก่อนนั้นมากขึ้นทุกที เพราะตีก บ้าน อาคาร ที่อยู่อาศัย และที่ทำงานนั้นสูงขึ้นบดบังแสงอาทิตย์ และแสงสว่างไม่อาจเข้าถึงภายในห้องได้ แต่ก่อนๆโน้นเราศึกษา ทำงานประกอบอาชีพกันเฉพาะเวลากลางวันที่มีแสงสว่างมากพอ แต่เวลานี้เราต้องอยู่กันทั้งกลางวันและกลางคืน จึงต้องนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้เป็นแสงสว่างแทน

การได้แสงสว่างไม่ดีพอ จะพบเห็นกันได้ตามสถานที่ทำงานหรือโรงงานต่างๆ และโรงเรียนต่างๆหลายแห่ง ทั้งที่เรียนตอนกลางวันและกลางคืน คนทำงานและเด็กนักเรียนจึงเสื่อมสุขภาพ เสียความตั้งใจและสมาธิในการเรียนและการทำงาน ที่สำคัญคือเสียสายตาได้มาก

ตามบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เด็กๆจะศึกษาไม่เต็มที่ สายตาจะสั้นลงไปได้ง่าย ผู้ใหญ่ก็จะมีสายตาเสียมากขึ้น

ในสถานที่ที่ทำงานมีการศึกษาต้องอ่านต้องเขียนหนังสือ หรือทำงานที่ต้องใช้สายตามมาก จะต้องมีแสงสว่างให้มากพอ แต่ก็ไม่น้อยหรือจ้าจนเกินไป

การติดตั้งไฟฟ้า ควรคิดถึงว่าดวงไฟฟ้าที่จะให้แสงสว่างควรจะติดไว้ในตำแหน่งใด เราก็ควรจะทราบถึงสภาพตามธรรมชาติของตาคนเราบ้าง

ตามปกติเราได้แสงสว่างจากธรรมชาติคือแสงอาทิตย์ที่ส่องแสงตรงลงมาจากเหนือศีรษะเรา รูปร่างและหน้าที่ของร่างกายคนเรามีวิวัฒนาการมาเพื่อให้ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ได้เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อตาจากรังสีของดวงอาทิตย์ ธรรมชาติสร้างให้ลูกตาอยู่ในเบ้ากระดูก มีหน้าผาก ขนคิ้ว ขนตาของเปลือกตาบนยาว (ยาวกว่าขนตาของเปลือกตาล่าง) มีเปลือกตาที่จะหลับตาลืมตาได้ มีศีรษะและคอที่จะเอี้ยวบิดได้ นั่นก็เพราะจะได้ป้องกันและหลบหลีกแหสงสว่างที่พุ่งตรงลงมาจากเหนือศีรษะไม่ให้ส่องเข้าในลูกตาได้โดยตรง

ดังนั้นเมื่อเราจะใช้แสงสว่างในอาคารบ้านเรือนเพื่อการทำงาน การอ่าน การเขียน หรือการศึกษา ดวงไฟฟ้าที่จะติดตั้งนั้นก็ควรอยู่เหนือศีรษะ นั่นคือแสงสว่างควรจะส่องลงมาเหนือระดับตา และจะเหมาะยิ่งขึ้นถ้าไม่มีโคมไฟตั้งอีกสักดวงหนึ่งวางบนดต๊ะทางด้านซ้ายเพื่อเพิ่มแสงสว่างให้มากพอ เมื่อเวลาอ่านเขียนหรือทำงานฝีมือ โคมตั้งนั้นให้ห่างจากงานทีทำราวๆ 3 ฟุต

ส่วนการจะติดตั้งดวงไฟฟ้าเพื่อการตกแต่งบ้านให้ดูสวยงามนั้นจะประดับไว้อย่างไรไม่มีปัญหา แล้วแต่สถาปนิกจะออกแบบตกแต่งให้

ศ.น.พ.เสนอ อินทรสุขศรี
"เกร็ดจากล่วมยา"
สตรีสาร 48/9

===============================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น